ในประเทศไทยที่อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซขยายตัวอย่างรวดเร็ว เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) กําลังอยู่ในช่วงสําคัญของการเลือกแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้มากที่สุด
การตัดสินใจครั้งสําคัญนี้ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกว่าจะนำสินค้าไปแสดงบนแพลตฟอร์มไหน แต่หมายถึงการปูทางตั้งแต่เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่นำเสนอเอกลักษณ์ของแบรนด์ไปจนถึงตลาดออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขวาง มีการพัฒนาอยู่เสมอ และมีการโต้ตอบการค้าขายบนโซเชียลมีเดีย
ในขณะที่ตลาดดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การทําความเข้าใจเทรนด์ เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจําเป็นในการทำธุรกิจ บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณเข้าใจภาพรวมของแต่ละแพลตฟอร์ม ประกอบกับข้อมูลสถิติและตัวอย่างที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อให้ SMEs ไทยได้รับข้อมูลเชิงลึกที่จําเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการขายและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เช่น การสร้างตัวตนที่มีเอกลักษณ์บนช่องทางออนไลน์ การมีส่วนร่วมกับกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่บนตลาดดิจิทัล หรือแม้แต่การใช้ประโยชน์จากอิทธิพลของโซเชียลมีเดียเพื่อทำการค้า
1. การขายสินค้าบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
ในยุคดิจิทัลการมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้นคล้ายกับการมีหน้าร้านค้าเสมือนจริง การที่คุณเป็นเจ้าของพื้นที่เว็บไซต์ทั้งหมดทำให้สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์ออกไปได้ ดังนั้นการมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วได้
ข้อดีของการขายสินค้าบนเว็บไซต์ของคุณเอง
การสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณเองทําให้สามารถบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์และสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับได้อย่างเต็มที่ การขายผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์โดยตรงนี้จะได้รับกำไรมากกว่าเนื่องจากคุณไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการขายบนตลาดออนไลน์ อีกทั้งยังสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ายิ่งขึ้นซึ่งส่งผลสําคัญต่อความภักดีต่อแบรนด์และการได้รับข้อมูลเชิงลึกอีกด้วย
บทความโดย Neil Patel กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ให้เฉพาะเจาะจงไปตามลูกค้าแต่ละคน (Personalization) ช่วยเพิ่ม ROI ทางการตลาดได้ถึง 20% นอกจากนี้การโต้ตอบโดยตรงกับลูกค้าทำให้อัตราการรักษาฐานลูกค้าสูงขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสําคัญสําหรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
ความท้าทาย
การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าจำเป็นต้องมีการลงทุนระยะแรกในเรื่องการออกแบบ โฮสติ้ง และการพัฒนาเว็บไซต์ การดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมายังเว็บไซต์ของคุณยังต้องใช้ความพยายามอย่างมากในด้านการตลาดและการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ (SEO) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดเหล่านี้เจ้าของธุรกิจมักจะต้องจัดการด้านโลจิสติกส์และการชำระเงินอีกด้วย ดังนั้นการร่วมมือเป็นพันธมิตรด้านโลจิสติกส์ที่เป็นที่ยอมรับเช่น DHL Express สามารถหาวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อจัดการการขนส่งระหว่างประเทศ ให้กับธุรกิจออนไลน์ของคุณได้
กลยุทธ์การตลาดเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ
หากต้องการให้เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพ ให้ลงทุนกับการออกแบบเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายและยังคงเอกลักษณ์ของแบรนด์คุณไว้ได้ จัดลําดับความสําคัญของ SEO เพื่อเพิ่มการมองเห็น ทำคอนเทนต์เพื่อเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และดึงดูดผู้เข้าชมเว็บไซต์ โลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพมีความสําคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้าซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการร่วมมือกับผู้ให้บริการขนส่งที่มีประสบการณ์เพื่อการจัดส่งระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ
2. การขายสินค้าในตลาดออนไลน์
ในตลาดดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของประเทศไทย ตลาดออนไลน์เช่น Lazada และ Shopee ยังคงครองตลาดและกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงอิทธิพลในการเข้าถึงลูกค้าในวงกว้าง ตลาดเหล่านี้นําเสนอทางเลือกที่เข้าถึงได้และมีส่วนร่วมสําหรับธุรกิจในการเชื่อมต่อกับลูกค้าทั้งในประเทศและทั่วโลก
ข้อดีของการใช้ตลาดออนไลน์
การขายในตลาดออนไลน์ช่วยให้เข้าถึงฐานลูกค้าจํานวนมากได้ทันที แพลตฟอร์มเหล่านี้ขึ้นชื่อเรื่องความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ อีกทั้งสามารถติดตามยอดขายได้อย่างรวดเร็ว พวกเขามักจะนําเสนอแนวทางแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้น
ตามรายงานของ Edge by Ascential กล่าวว่าภายในปี 2027 ยอดขายในตลาดออนไลน์จะคิดเป็น 59% ของอีคอมเมิร์ซทั่วโลกซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่เหนือกว่าในพื้นที่การขายออนไลน์
ความท้าทาย
ตลาดมีการแข่งขันสูงทำให้โอกาสในการสร้างแบรนด์จึงมีจำกัด ผู้ขายต้องเผชิญกับค่าธรรมเนียมที่กระทบกับผลกําไร นอกจากนี้การทำความเข้าใจและรับมือกับกฎและข้อบังคับถือเป็นอุปสรรคที่ต้องเจอในการสร้างแบรนด์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเหล่านี้
กลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ
หากคุณต้องการประสบความสําเร็จ ให้สร้างบัญชีผู้ขายให้ดีและสร้างรีวิวเชิงบวกตั้งแต่เนิ่นๆ ทําความเข้าใจและเพิ่มโครงสร้างค่าธรรมเนียมเข้าไปในกลยุทธ์การตั้งราคา หรืออาจใช้การวิเคราะห์ตลาดออนไลน์เพื่อปรับแต่งรายการสินค้าและยิง Ads เพื่อเพิ่มการมองเห็นของร้านค้า
3. การขายสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
ในยุคดิจิทัลมีการเพิ่มขึ้นของช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มเหล่านี้ให้เป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซที่มีศักยภาพและทำกําไรได้ ในประเทศไทยที่มีการใช้โซเชียลมีเดียอยู่ที่ 81.2% จากข้อมูลของ OOSGA การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยเปิดประตูสู่ฐานลูกค้าที่กว้างและหลากหลายมากขึ้น
ข้อดีของการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเช่น Facebook และ Instagram สามารถเข้าถึงผู้ใช้หลายล้านคน ระบบการโฆษณาช่วยให้สามารถกําหนดเป้าหมายแคมเปญและเข้าถึงลูกค้าที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเข้าถึงได้ง่ายทําให้การค้าบนโซเชียลมีเดียเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
Meta รายงานว่าในแต่ละเดือนเพียงแค่บน Facebook มีผู้ใช้เว็บไซต์มากกว่า 1 พันล้านคนที่เข้าถึง Marketplace ซึ่งยิ่งแสดงถึงศักยภาพของแพลตฟอร์มเหล่านี้สําหรับอีคอมเมิร์ซ
ความท้าทาย
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอาจขาดคุณสมบัติอีคอมเมิร์ซขั้นสูง และการสร้างความไว้วางใจอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก นอกจากนี้การมองเห็นของคุณยังขึ้นอยู่กับอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มด้วย
กลยุทธ์โซเชียลมีเดียที่มีประสิทธิภาพ
มุ่งเน้นไปที่การสร้างเนื้อหาน่าสนใจและส่งต่อได้ในเรื่องที่โดนใจลูกค้าของคุณ ใช้โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าถึงกลุ่มที่มีโอกาสเป็นลูกค้า และต้องแน่ใจว่าการค้าบนโซเชียลมีเดียของคุณต้องมีความเป็นหนึ่งกับตัวตนภาพรวมในออนไลน์ของคุณ สิ่งสําคัญคือต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมและนโยบายแพลตฟอร์ม และนี้คือเคล็ดลับบางประการ ที่คุณสามารถใช้เพื่อทําให้การขายทางโซเชียลมีเดียของคุณประสบความสําเร็จ