#คําแนะนําเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ

การส่งออกผลไม้อบแห้งและผลไม้แปรรูปจากประเทศไทย

6 นาทีอ่าน
facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share
การส่งออกผลไม้อบแห้งและผลไม้แปรรูปจากประเทศไทย

ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ผลไม้ทั้งแบบแปรรูปและอบแห้ง ได้สร้างชื่อให้กับประเทศไทยต่อสายตาทั่วโลก ในปี 2566 ประเทศไทยมียอดการส่งออกผลไม้สูงขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่ายอดดังกล่าวจะโตขึ้น 2.3% ทุกปี และยังระบุด้วยว่ามีการเติบโตที่แข็งแกร่งในการส่งออกผลไม้แช่เย็นและแช่แข็งไปยังตลาดจีนเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลไม้ไทย 5 อันดับแรกที่ส่งออกไปจีน ได้แก่ กล้วย มะพร้าว อ่อน ทุเรียน แก้วมังกร และลําไย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งสด แช่แข็ง อบแห้ง และ กระป๋อง ที่สำคัญ การนําเข้าทุเรียนของจีน 95% มาจากประเทศไทย ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ไทย นอกจากจีนแล้ว ผู้ส่งออกไทย 208 รายยังจัดส่งผลไม้แห้งไปยังผู้ซื้อ 253 รายทั่วโลก โดยมีเวียดนาม เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศคู่ค้าที่สําคัญ

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RECP) - ปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการเติบโตของการส่งออกไทย

จากข้อมูลของ ASEAN Briefing หนึ่งในปัจจัยสําคัญที่ทําให้การส่งออกของไทยเติบโต คือ การเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RECP) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงจีนและไทย เป็นต้น หลังจากข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ประเทศไทยมีการค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักและผลไม้ 

ข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 เจ้าของธุรกิจไทยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้า RECP และมีการส่งออกเพิ่มขึ้น 107% รวมไปถึงเจ้าของธุรกิจผลไม้อบแห้งและผลไม้แปรรูปอื่น ๆ ก็มีโอกาสในการขยายธุรกิจไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน

ประเทศไทยในตลาดผลไม้แปรรูปทั่วโลก

นอกจากการส่งออกผลไม้สดแล้ว การส่งออกผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปก็ได้รับคามนิยมเช่นกัน หากคุณกำลังมองหาช่องทางทางธุรกิจหรือขยายธุรกิจไปหาลูกค้าต่างประเทศ บทความนี้มีคำตอบ! เราได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปไว้ที่นี่แล้ว

จุดยืนและคู่แข่งหลักในตลาดผลไม้แปรรูป

ในตลาดผลไม้แปรรูปทั่วโลก ประเทศไทยถือว่าโดดเด่นในฐานะผู้ส่งออกรายหลัก และมีผลไม้อบแห้งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปที่ส่งออกอันดับต้นๆ ในปี 2566 ตามข้อมูลของ Statista รายได้ของตลาดผลไม้แปรรูปอยู่ที่ 286.90 ล้านเหรียญสหรัฐ  นอกจากนี้ คาดว่าตลาดจะมีการเติบโตอยู่ที่ 3.9% ในปี 2567 ตลาดแปรรูปผลไม้เติบโตขึ้นเพราะความต้องการอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงของผู้บริโภคนั้นเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปเข้าถึงได้ง่ายกว่าและมีอายุที่นานกว่า ง่ายต่อการเก็บรักษาเมื่อเทียบกับผลไม้สด ตามที่กล่าวไว้ในบทความวิจัยเรื่อง "ตลาดแปรรูปผักและผลไม้ในประเทศไทย" ที่ตีพิมพ์ใน 6Wresearch 

แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปมาพร้อมกับการแข่งขัน คู่แข่งหลักของไทยในเอเชียมีอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ เวียดนามและอินเดีย การส่งออกผลไม้แปรรูปของเวียดนามก็เพิ่มขึ้นเช่นกันในปีนี้ อัตราการเติบโตอยู่ที่ 23% ปีต่อปี ในช่วงสี่เดือนแรกของปี (ข้อมูลจากสมาคมผลไม้เวียดนาม) ในทางกลับกันในรายงานของกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลอินเดีย การส่งออกผลไม้สดและแปรรูปของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 18.8% 

ปกป้องและสนับสนุนผู้นําตลาด

เพื่อสนับสนุนการส่งออกของประเทศไทย เจ้าหน้าที่ไทยได้ทํางานกับภาคเอกชนเพื่อหามาตรการเชิงรุกเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการส่งออก ตามบทความของ Pattaya Mail มาตรการเชิงรุกพวกนี้รวมถึง การตลาดภายในประเทศ การหาตลาดใหม่ในต่างประเทศและการเจรจากับคู่ค้า ด้วยการปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจต่อตลาดผลไม้แปรรูปทั่วโลก

จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครของผลไม้แปรรูปจากประเทศไทย

ข้อได้เปรียบของประเทศไทยในตลาดผลไม้แปรรูปทั่วโลก คือ ความอุดมสมบูรณ์ของผลไม้สด ทำเลที่ตั้ง และความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เยอะขึ้น

1. ความอุดมสมบูรณ์

ด้วยจำนวนผลไม้ที่มีอยู่มากมาย หลากหลายชนิด กระตุ้นให้เกิดความจําเป็นในการแปรรูปและถนอมผลไม้ที่มีประสิทธิภาพ ตามรายงาน "Thailand Fruit And Vegetable Processing Market" ที่ตีพิมพ์ใน 6Wresearch ธุรกิจไทยใช้วิธีการที่หลากหลายในการเก็บรักษาผลไม้ เช่น การบรรจุกระป๋อง การแช่แข็ง การทําแห้งแบบแช่แข็ง (freeze dried) การอบแห้งด้วยอากาศและอื่นๆ  

ผลไม้แปรรูปยอดนิยมที่ได้รับความสนใจในตลาด คือ ผลไม้แห้งแช่แข็ง (freeze dried) โดยเฉพาะทุเรียนแห้งแช่แข็ง ผลไม้แห้งแช่แข็งเป็นผลไม้แห้งชนิดหนึ่งซึ่งผ่านกรรมวิธีเครื่องอบแห้งแบบแช่เยือกแข็งสูญญากาศเพื่อกําจัดน้ําออกจากผลไม้  รายงานอีกฉบับที่ตีพิมพ์ใน 6Wresearch บอกว่าสิ่งที่ทําให้การทําแห้งแบบแช่แข็งน่าสนใจคือการรักษารสชาติ สี และสารอาหารตามธรรมชาติของผลไม้  

2. ที่ตั้งยุทธศาสตร์ ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ของผลไม้ในประเทศและการผลิตผลไม้แปรรูปที่เฟื่องฟูแล้ว ที่ตั้งของประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในการค้าโลก ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของอาเซียนทําให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและการจัดจําหน่ายที่สําคัญและเชื่อมโยงกับตลาดจีนและตลาดอื่นๆ ในเอเชีย

3. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อีกหนึ่งความได้เปรียบคือข้อตกลงทางการค้าของไทยกับประเทศต่างๆ รายงานสรุปอาเซียนยังระบุด้วยว่า ประเทศไทยมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) 14 ฉบับ และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ทําให้ประเทศต่างๆ ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรของไทยมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าของคุณไปยังประเทศปลายทางที่สําคัญคุณสามารถดูคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดไปยังประเทศปลายทางที่สำคัญ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน

ข้อควรพิจารณาเมื่อขยายธุรกิจผลไม้แปรรูปในไปต่างประเทศ

เมื่อจัดส่งผลไม้แปรรูป ผลไม้อบแห้งไปต่างประเทศ ผู้ส่งออกต้องคํานึงถึง 2 ข้อ ได้แก่การรักษาคุณภาพผลไม้แปรรูปและการจัดส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ

1. การรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป

อุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปในประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายหลายประการที่เกี่ยวกับ ทังด้านการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านความปลอดภัย และด้านความสามารถในการแข่งขันในตลาด ตามรายงานจาก 6Wresearch สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคผลไม้แปรรูปคือการรักษารสชาติ สี และคุณค่าทางโภชนาการตลอดขั้นตอนการผลิต

การรักษาคุณภาพนั้นเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีและการประมวลผลขั้นสูงเพื่อควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด นอกจากนี้การให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของอาหารและการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งสําคัญในการป้องกันการปนเปื้อนและรักษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ในขณะที่ตลาดขยายตัวและการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่การรับมือกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารทั่วโลกและการจัดการกฎระเบียบศุลกากรของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันก็อาจเป็นอุปสรรคให้กับธุรกิจได้

2. โลจิสติกส์และการขนส่ง

การขนส่งที่มีประสิทธิภาพเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าปลายทาง และมีความสําคัญต่ออุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปของประเทศไทยมาก  การจัดส่งผลไม้แปรรูป ผลไม้อบแห้งไปต่างประเทศอย่างราบรื่นและทันเวลานั้นต้องใช้ทั้งความเร็วและการประสานงานที่ดีและคล่องตัว ปัจจัยต่างๆ เช่น ข้อกำหนดการขนส่งที่แตกต่างกัน การคำนึงถึงสภาพอากาศ และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับการส่งออกผลไม้แปรรูป ก็อาจเพิ่มความซับซ้อนให้กับกระบวนการจัดส่ง ได้

ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะรักษาจุดยืนในตลาดผลไม้แปรรูปทั่วโลก การมีกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งด้วยการเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการขนส่งที่เชื่อถือได้ ที่ช่วยติดตามกฎระเบียบการจัดส่งระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งจําเป็นสำหรับธุรกิจการและเป็นกุญแจสําคัญในการสร้างความมั่นใจเรื่องการขนส่งราบรื่นจากการผลิตในไทยไปยังลูกค้าที่ต่างประเทศ

ส่งออกอย่างราบรื่นกับ DHL Express

เมื่อส่งออกผลไม้แปรรูป เช่น ผลไม้แห้งหรือผลไม้แห้งแช่แข็ง (freeze-dried) ไปต่างประเทศ DHL Express เป็นพันธมิตรด้านการขนส่งที่เชื่อถือได้ เรามีการขนส่งที่คล่องตัวในการส่งออกระหว่างประเทศ และเราให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพของสินค้าคุณจากประเทศไทยสู่ตลาดโลก

ที่ DHL Express Thailand เรารู้ว่าการส่งออกอาหารนั้นมีความซับซ้อน ดังนั้น การจัดส่งตรงเวลาจึงสำคัญมาก นั่นเป็นเหตุผลที่เรามุ่งมั่นที่จะขนส่งไปทั่วโลกอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพเพื่อให้แน่ใจว่าผลไม้แปรรูปของคุณถึงปลายทางอย่างรวดเร็วและอยู่ในสภาพที่เหมาะสม ยกระดับธุรกิจของคุณไปยังเวทีระหว่างประเทศ เริ่มต้นส่งออกกับ DHL Express เลยวันนี้