สถาบันอัญมณีและเครื่องประดับรายงานว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมีส่วนสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2023 มีการส่งออกสูงถึง 6,643.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเหล่านี้เติบโต 9.09% เมื่อเทียบเป็นรายปี นับเป็นการส่งออกอันดับสามของประเทศไทย คิดเป็น 5.22% ของการส่งออกรวมของประเทศ ความต้องการเครื่องประดับชั้นดี รวมถึงหินสีต่างๆ เติบโตขึ้นอย่างมากในตลาดต่างประเทศ
การส่งออกเครื่องประดับของไทยมีเทรนด์ตลาดที่แตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่มอัญมณีขัดเงา เครื่องประดับทองคํา และเครื่องประดับเงินมีการส่งออกไปฮ่องกงเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม เครื่องประดับเงินมีการส่งออกไปยังอินเดียมากขึ้น ส่วนดีมานต์ด้านเครื่องประดับไทยในตลาดผู้บริโภคในเยอรมนีเปลี่ยนไป โดยเน้นไปที่เครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery หรือ fashion jewellery) มากขึ้น และการส่งออกเครื่องประดับทองคําไปยังตลาดสหราชอาณาจักร (UK) มีการเติบโต 22.67%
เครื่องประดับประเภทไฟน์จิวเวลรี่มีส่วนแบ่งสําคัญในภาคการส่งออกเครื่องประดับจากประเทศไทยไปต่างประเทศ ธุรกิจต่างๆ สามารถคว้าโอกาสทำเงินจากต้องการของผู้ซื้อที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ นอกจากนี้ เครื่องประดับแฟชั่นยังได้รับการตอบรับที่ดีมากในตลาดโลก ซึ่งเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสําหรับธุรกิจ เรามาทําความเข้าใจขั้นตอนในการส่งของไปต่างประเทศให้ราบรื่นก่อน
เครื่องประดับที่ส่งไปต่างประเทศกับ DHL ได้
คุณสามารถส่งออกเครื่องประดับที่หลากหลายต่างๆ จากประเทศไทยไปต่างประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับทองคำขาว และเครื่องประดับแฟชั่น แต่ก็ควรใส่ใจกับข้อห้ามและข้อจํากัดของประเทศที่คุณจัดส่งไปด้วย ตัวอย่างเช่น อินเดียกําหนดให้เครื่องประดับที่นําเข้าทั้งหมดต้องทําเครื่องหมายรับรอง ซึ่งเป็นกระบวนการรับรองความบริสุทธิ์ของโลหะ อาจต้องใช้ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้าด้วย
สิ่งสําคัญคือต้องไม่ส่งสินค้าปลอมแปลงหรือลอกเลียนแบบไปต่างประเทศ เนื่องจากทั้งศุลกากรไทยและประเทศปลายทางยังคงรักษากฎระเบียบที่เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าสินค้าปลอมแปลงและสินค้าลอกเลียนแบบเข้าไปในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาห้ามนําเข้าเครื่องประดับที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม การจัดส่งเหล่านี้เข้าประเทศทำให้เสียค่าปรับ อายัติ และยึดสินค้า การเฝ้าระวังสินค้าลอกเลียนแบบเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ความปลอดภัยของผู้บริโภค และการป้องกันกิจกรรมฉ้อโกง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาด เป็นสิ่งสําคัญสําหรับผู้ส่งออกที่จะต้องรับรองความถูกต้องและปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางกฎหมายและการเงินซึ่งอาจจะตามมา
อีกสิ่งที่ควรรู้คือ เครื่องประดับลอกเลียนแบบที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นแตกต่างจากเครื่องประดับสังเคราะห์
เครื่องประดับปลอมเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมายการค้าหรือดีไซน์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งแสดงถึงเจตนาหลอกลวงที่จะสื่อว่าสินค้าเป็นของแท้จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เช่น การผลิตเครื่องประดับโดยใช้สไตล์ของแบรนด์หรูที่มีชื่อเสียง เช่น Louis Vuitton Chanel และอื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต ในทางตรงกันข้าม เครื่องประดับสังเคราะห์ยอมรับธรรมชาติของมันอย่างเปิดเผย ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของแท้ดั้งเดิมหรือเป็นของมีค่า แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเลียนแบบรูปลักษณ์ของเครื่องประดับระดับไฮเอนด์โดยไม่มีเจตนาหลอกลวง เช่น ทางเลือกเพชรอย่าง Cubic Zirconia (เพชร CZ) หรือเครื่องประดับคริสตัล การยอมรับและแสดงความจริงใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นอย่างไรเป็นสิ่งสําคัญในการค้าระหว่างประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและทำให้แบรนด์ของคุณมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมากขึ้น
หมายเหตุสําหรับลูกค้า DHL Express
ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย ) สามารถช่วยคุณจัดส่งสร้อยข้อมือ ต่างหู แหวน นาฬิกา และสร้อยคอที่ฝังอัญมณีต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับนั้น เช่น แหวนเพชร สร้อยทับทิม ต่างหูบลูแซฟไฟร์ สร้อยคอบุษราคัม หรือแหวนมรกต เป็นต้น ให้กับคนที่คุณรักหรือลูกค้าในต่างประเทศได้ แต่ไม่สามารถจัดส่งอัญมณีแบบไม่ขึ้นรูป (loose form) ในเครือข่ายการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของ DHL Express ได้
ส่วนเครื่องเงินหรือเครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงอย่างมากในภาคเหนือของประเทศไทยเป็นสินค้ายอดนิยมที่ DHL Express ส่งไปต่างประเทศได้
อีกหนึ่งข้อสำคัญคือ ต้องระบุมูลค่าซื้อขายของสินค้านั้นๆ ให้ถูกต้องด้วย การประเมินมูลค่าสินค้าที่จัดส่งต่ำกว่าความเป็นจริง ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิธีทางศุลกากรแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการตรวจปล่อยสินค้าอีกด้วย
ภาษีนําเข้าและอากรในการส่งเครื่องประดับไปต่างประเทศ
การเตรียมเครื่องประดับสำหรับการส่งออกไปต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ มาเกี่ยวข้องเช่น ภาษีนําเข้าและอากรที่กําหนดโดยประเทศปลายทาง ตัวอย่างเช่น อินเดียเก็บภาษีนําเข้าทองคํา 15% ในขณะที่การส่งออกเครื่องประดับไปยังสหภาพยุโรป (EU) มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มาตรฐาน 19% บวกอากร 2 ถึง 2.5%
โดยทั่วไปอากรและภาษีจะคํานวณตาม รหัส Harmonised System (HS Code) ซึ่งจัดประเภทสินค้าสําหรับการค้าระหว่างประเทศและกําหนดอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง รหัสนี้มีความสําคัญในการระบุอัตราภาษีและอากรที่เหมาะสมสําหรับการส่งเครื่องประดับของคุณ
ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของ DHL Express เพื่อสอบถามเกี่ยวกับอัตราภาษีระหว่างประเทศและขอคําแนะนําเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการการส่งเครื่องประดับไปต่างประเทศ