#คําแนะนําเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ

โอกาสของชิ้นส่วนยานยนต์ EV ไทยในตลาดส่งออก

facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share
โอกาสของชิ้นส่วนยานยนต์ EV ไทยในตลาดส่งออก

การมาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กําลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก และหนึ่งในประเทศที่ได้รับอานิสงส์ของการเปลี่ยนแปลงนี้คือประเทศไทย ซึ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นสําหรับบทบาทผู้ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ EV ไปทั่วโลก

ภาพรวมภูมิทัศน์ด้านชิ้นส่วนยานยนต์ EV ของไทย

หลังจากรถยนต์ไฟฟ้าเฟื่องฟู Emergen Research ประมาณการว่าตลาด EV ทั่วโลกน่าจะเห็น CAGR ที่ 22.2% จากปี 2022 ถึง 2030 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลายเป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพของการปฏิวัติครั้งนี้ ซึ่ง McKinsey คาดว่าจะมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของยอดขาย EV ทั่วโลก ภายในปี 2030 ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยจึงสดใสเป็นพิเศษ ประเทศไทยนับเป็นฐานการผลิตรถยนต์ชั้นนําของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า มรดกด้านยานยนต์ของประเทศไทยนั้นหยั่งรากลึกและขยายอย่างกว้างขวาง โดยอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีมูลค่า 15.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามสถิติของกระทรวงพาณิชย์ และยังเดินหน้าปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบไฟฟ้าและมีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด

แน่นอนว่าการเป็นมหาอํานาจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลกนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญสำหรับประเทศไทย ในช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลไทยหลายๆ ชุดได้ออกนโยบายเพื่อดึงดูดแบรนด์ยานยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เข้ามาสร้างระบบนิเวศที่เฟื่องฟูของซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์ในภูมิภาค และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังดึงดูดผู้ผลิต EV และ EV Charger ของจีน เช่น BYD MG และ Great Wall Motor เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งทําให้ตําแหน่งของประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้น

คาดว่าระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายด้านยานยนต์ของประเทศ ในขณะที่การลงทุนยังคงหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง EEC จึงพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV และผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของภาคยานยนต์ของประเทศไทย 

ก้าวข้ามความซับซ้อน การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ EV จากประเทศไทย

กระบวนการส่งออก โดยเฉพาะอย่างการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ EV เกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดมากมาย ต่อไปนี้คือประเด็นสําคัญที่คุณควรทราบ 

1. ทําความเข้าใจเกี่ยวกับอากรและภาษี

ทุกประเทศมีระบบภาษีในการนําเข้าสินค้า และชิ้นส่วนรถยนต์ EV ก็ไม่มีข้อยกเว้น 

  • อัตราภาษีแบบไดนามิก ในขณะที่หลายประเทศกําลังลดภาษีสําหรับแบตเตอรี่ EV ที่นําเข้า แต่เศรษฐกิจที่แตกต่างกันอาจมีอากรและภาษีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะ ผู้ส่งออกจําเป็นต้องติดตามอัตราที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้มั่นใจถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมของตลาด
  • ข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาค ประเทศไทยมีข้อตกลงทางการค้ากับประเทศและกลุ่มต่างๆ ซึ่งอาจเสนออัตราอากรพิเศษสําหรับชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะ การใช้ข้อได้เปรียบเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

 2. การทําความเข้าใจเอกสารการส่งออก

เรื่องเอกสารไม่ใช่เรื่องที่ต้องต่อรอง จึงต้องทำเอกสารให้ถูกต้องไม่ใช่เป็นการปฏิบัติตามข้อกําหนดเท่านั้น แต่ยังทำให้การจัดส่งชิ้นส่วนรถยนต์ไปต่างประเทศไม่เกิดความล่าช้าที่ศุลกากรอีกด้วย

  • ใบกํากับสินค้า (Commercial invoice) เป็นบันทึกการทําธุรกรรมและโดยทั่วไปจะมีรายละเอียดต่างๆ เช่น คําอธิบายผลิตภัณฑ์ ปริมาณ ราคาขาย และเงื่อนไขการค้า
  • รายการบรรจุภัณฑ์ รายละเอียดเพิ่มเติมของสิ่งของภายในบรรจุภัณฑ์ สําหรับชิ้นส่วนรถยนต์ EV อาจซับซ้อนเป็นพิเศษ เพราะมีส่วนประกอบที่เจาะจงและหลากหลาย
  • ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า บางประเทศให้สิทธิพิเศษหรือภาษีศุลกากรตามแหล่งกําเนิดของผลิตภัณฑ์ เอกสารนี้ใช้เพื่อรับรองประเทศที่ผลิตผลิตภัณฑ์
  • ใบรับรองเฉพาะ ขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนรถยนต์และประเทศปลายทาง อาจจําเป็นต้องใช้ใบรับรองอื่นๆ ตัวอย่างเช่น บางประเทศอาจต้องการการรับรองความปลอดภัยหรือการประกันคุณภาพสําหรับแบตเตอรี่ EV หรือส่วนประกอบที่สําคัญอื่นๆ

3. ปฏิบัติตามข้อจํากัดและข้อบังคับ

การปฏิบัติตามข้อกําหนดเป็นสิ่งสําคัญ ทั้งต่อชื่อเสียงของธุรกิจและเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จําเป็นหรือความล่าช้าในการจัดส่ง

  • ชิ้นส่วนต้องห้ามและต้องกำกัด สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น จุดยืนของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับแบตเตอรี่ EV ที่มีวัสดุอันตรายบางชนิด เน้นย้ำถึงความสําคัญของการทําความเข้าใจข้อกําหนดเฉพาะของแต่ละตลาด
  • มาตรฐานคุณภาพ บางประเทศอาจมีมาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวดสําหรับชิ้นส่วนรถยนต์นําเข้า การปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้อาจเป็นการผสมผสานระหว่างการมีใบรับรองที่ถูกต้องและการรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในระดับที่ตั้งไว้

ตัวอย่างเช่น ในการส่งออกมอเตอร์รถ EV ไปยังญี่ปุ่น จะต้องเป็นไปตาม JIS (มาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น) เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางไฟฟ้า ผู้ส่งออกจะต้องได้รับการรับรองนี้เพื่อพิจารณาเข้าสู่ตลาด

  • กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เนื่องจาก EV มักจะอยู่ในหัวข้อที่ถกเถียงกันด้านด้านความยั่งยืน บางประเทศอาจมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับฟรุ้ตพรินท์ทางสิ่งแวดล้อมหรือมาตรฐานความปลอดภัยของส่วนประกอบ EV ที่นําเข้า ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากําหนดให้แบตเตอรี่ EV ผ่านการทดสอบการขนส่งที่เข้มงวดของ UN 38.3 เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่รั่วไหลหรือแตก ภายใต้สภาวะต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของแรงดันและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง

 

การเรียนรู้องค์ประกอบข้างต้นสามารถทําให้กระบวนการส่งออกราบรื่นขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์กับหอการค้าท้องถิ่นหรือสมาคมอุตสาหกรรม เช่น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ยังจะช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์และการอัพเดตที่เกี่ยวกับเทรนด์และข้อกําหนดการส่งออกล่าสุดอีกด้วย

ข้อได้เปรียบของ DHL ช่วยลดความซับซ้อนในการส่งชิ้นส่วนรถยนต์ EV จากประเทศไทย

สําหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV ที่ต้องการเจาะตลาดโลก DHL Express Thailand นําเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุม ซึ่งปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรม ดังนี้

  • บริการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางอากาศหรือการขนส่งภาคพื้นดิน DHL Express ช่วยคุณได้ เพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนรถยนต์ EV ของคุณจะถึงประเทศปลายทางอย่างรวดเร็วและปลอดภัย
  • การติดตามแบบเรียลไทม์ อัพเดตทุกขั้นตอนด้วยความสามารถในการติดตามแบบเรียลไทม์ของ DHL Express เพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใสและความอุ่นใจสําหรับทั้งผู้ส่งและผู้รับ
  • ความสามารถในการจัดส่งสินค้าขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้าอาจยุ่งยาก ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ EV ขนาดใหญ่หรือมอเตอร์ที่ทนทาน โครงสร้างพื้นฐานของ DHL Express ได้รับการติดตั้งเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของการจัดส่งและการส่งมอบชิ้นส่วนรถยนต์ EV ขนาดใหญ่

และเมื่อดำเนินการควบคู่ไปกับยานพาหนะ EV ของ DHL Express เอง ก็ช่วยให้ผู้ผลิตหรือผู้จัดส่งลดการปล่อยคาร์บอนลงได้เมื่อจัดส่งกับเรา

หนทางข้างหน้าของประเทศไทยในภาคยานยนต์ไฟฟ้า

ด้วยจํานวนผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และอุปกรณ์ตกแต่งกว่า 2,200 ราย อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยยืนอยู่บนรากฐานที่มั่นคง ในขณะที่แนวโน้ม EV ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศก็พร้อมที่จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดเรื่องราวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก สําหรับธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ EV ในประเทศไทยที่กําลังมองหาตลาดต่างประเทศ ถึงเวลาดำเนินการแล้ว

เริ่มต้นด้วยการเปิดบัญชีธุรกิจกับ DHL Express และเพลิดเพลินกับโซลูชันการจัดส่งที่เชื่อถือได้สําหรับชิ้นส่วนรถยนต์ EV และอื่นๆ ไปทั่วโลก