#คําแนะนําเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ

คู่มือการขนส่งไปยังโอมาน

5 นาทีอ่าน
facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share
คู่มือการขนส่งไปยังโอมาน

ธุรกิจในประเทศไทยที่มุ่งขยายสู่ตลาดโลกจะมองว่าโอมานเป็นปลายทางต้นแบบของกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางเพราะตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นทางแยกของเส้นทางการค้าหลักซึ่งเชื่อมระหว่างตะวันออกและตะวันตก และเอเชียกับแอฟริกา ถือเป็นประตูสําคัญสําหรับสินค้าไทยในการก้าวเข้าสู่ตลาดตะวันออกกลาง

ด้วยพื้นที่ใกล้เคียงเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวทําให้โอมานมีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ในปี 2023 การเติบโตทางเศรษฐกิจนี้เห็นได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ทะยานขึ้นเป็นประมาณ 5.8 ล้านล้านบาท (164 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปี 2023 ตามข้อมูลจาก World Economics การเติบโตดังกล่าวแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงสําหรับการเข้าสู่ตลาดและการขยายธุรกิจ

หากต้องการใช้ประโยชน์จากตลาดเกิดใหม่ในตะวันออกกลาง ให้ศึกษาคู่มือการจัดส่งที่ครอบคลุมของเราจากไทยไปยังโอมานด้านล่าง 

ทําความเข้าใจพลวัตทางการค้าของโอมาน

เศรษฐกิจของโอมานส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากภาคน้ำมันและก๊าซ ซึ่งคิดเป็น 30% ของ GDP ทั้งหมดของโอมาน อย่างไรก็ตามในการก้าวไปสู่ความหลากหลายทางเศรษฐกิจโอมานได้ใช้ความพยายามในภาคการผลิต เหมืองแร่ โลจิสติกส์ การประมง และการท่องเที่ยว จุดหมุนเชิงกลยุทธ์นี้ทําให้ฐานเศรษฐกิจของโอมานมีความหลากหลายและได้ตำแหน่งเวทีที่มีสีสันสําหรับการค้าระหว่างประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และ ฯพณฯ นายอิสซา บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลอาลาวี เอกอัครราชทูตรัฐสุลต่านโอมานประจําประเทศไทยได้บรรลุข้อตกลงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศของตน 

ข้อตกลงนี้ส่งผลดีต่อการค้าทําให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทยไปยังโอมานแตะ 16,500 ล้านบาท (460.67 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2022 ตามรายงานของฐานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ COMTRADE ของสหประชาชาติ

สําหรับธุรกิจระหว่างประเทศที่ต้องการมีส่วนร่วมและรับประโยชน์จากการกระจายธุรกิจของโอมาน ลองสำรวจสินค้านําเข้าหลักเหล่านี้ของโอมานที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณ:

1. เครื่องจักรและเครื่องจักรกล 

ปริมาณการนําเข้าหลักของโอมานคือเครื่องจักรและเครื่องจักรกลซึ่งจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศในภาคการก่อสร้าง การผลิต และการขนส่ง มูลค่าการนําเข้าประมาณ 125,370 ล้านบาท (3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ) ถือเป็นโอกาสสําคัญสําหรับธุรกิจไทยในภาคธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดโอมาน

2. เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า 

สินค้านําเข้าอันดับต้นๆ อีกรายการหนึ่งในโอมานคือเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเกือบ 71.64 พันล้านบาท (2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ใช้ไปกับการนําเข้าสินค้านี้เพราะการนำเข้ามีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ต้องลงทุนสูงและสำคัญต่อการผลักดันนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

3. ยานพาหนะและชิ้นส่วนยานยนต์

ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ก็เป็นส่วนสําคัญในการนําเข้าของโอมาน โดยมีมูลค่าประมาณ 65,500 ล้านบาท (1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ) การพึ่งพาการนําเข้านี้ตอบสนองความต้องการรถยนต์ในประเทศเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดหายานพาหนะและชิ้นส่วนอย่างต่อเนื่อง

ระเบียบศุลกากร

นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 1980 ไทยและโอมานได้พัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้น ทั้งสองฝ่ายยังคงทํางานเพื่อยกระดับความร่วมมือทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมข้อริเริ่ม Oman Vision 2040

ความคิดริเริ่มนี้มุ่งเน้นไปที่การสร้างเศรษฐกิจที่หลากหลายและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจผ่านนโยบายภาษีที่เป็นประโยชน์และกฎหมายที่เป็นมิตรกับนักลงทุน ช่วยให้การขนส่งต่างประเทศราบรื่น

โครงการดังกล่าวช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงตลาดโอมาน และอาจขยายการเข้าถึงไปยังตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ในตะวันออกกลาง เช่น กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

อย่างไรก็ตาม การจะใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการค้าระดับโลกเหล่านี้อย่างเต็มที่ สิ่งสําคัญสําหรับธุรกิจไทยคือจะต้องทําความคุ้นเคยกับกฎระเบียบและข้อจํากัดด้านศุลกากรเมื่อส่งออกไปยังตะวันออกกลางโดยเฉพาะโอมาน:

1. อากรและภาษี

การส่งออกจากประเทศไทยได้รับประโยชน์จากนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 0  โดยสินค้าและบริการบางอย่างได้รับการยกเว้น (เช่น การศึกษา ร้านขายของชํา การดูแลสุขภาพ และธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์) นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การขยายการตลาดทางธุรกิจ เอื้อให้การค้าโลกราบรื่นยิ่งขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการไทย

ในขณะเดียวกันภาษีและอากรขาเข้าในโอมานจะคํานวณ ตามพิกัดศุลกากร (HS code) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายภาษีทั่วไปกําหนดเพดานภาษีสูงสุด 10% (สําหรับสินค้าจากนอกสหรัฐอเมริกา (US) และ GCC) เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการนําเข้า 

นอกจากนี้ หน่วยงานจัดเก็บภาษีของโอมานยังเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตสําหรับสินค้าเฉพาะ เช่น:

  • ผลิตภัณฑ์ยาสูบ (100%)
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (100%)
  • เครื่องดื่มชูกําลัง (100%)
  • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (50%)
  • เครื่องดื่มอัดลม (50%)
  • ผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู (100%)

2. สินค้าต้องห้ามและสินค้าต้องกำกัด

เพื่อการจัดส่งไปยังโอมานให้สำเร็จ การทําความเข้าใจข้อห้ามและข้อจํากัดเฉพาะสําหรับสินค้าบางอย่างจึงเป็นสิ่งจําเป็น ข้อมูลนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าสอดคล้องกับกฎระเบียบของไทยและโอมาน

สินค้านําเข้า/ส่งออกต้องห้ามในประเทศไทย: 

  • สื่อลามก
  • วัตถุ/วรรณกรรม/รูปภาพลามก
  • สินค้าที่มีตราหรือลวดลายธงชาติไทย
  • สารเสพติด (เช่น โคเคน ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน กัญชง มอร์ฟีน)
  • ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการปลอม
  • สกุลเงิน พันธบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม
  • สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น เทปดนตรี ซีดี วีดีโอ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ)  
  • สินค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้า

สินค้านําเข้า/ส่งออกที่ถูกกำกัดในประเทศไทย: 

  • โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ
  • เครื่องปั๊มนม
  • กล้องติดรถยนต์
  • เครื่องสําอางควบคุม
  • โดรน
  • ยา อาหาร และอาหารเสริม
  • เมล็ดกาแฟดิบ
  • กล่องรับสัญญาณทีวี 
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์
  • กล่องโทรทัศน์มินิพีซี
  • เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์
  • ยาสูบปราศจากนิโคติน
  • อาวุธและเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง อาวุธปืน และสิ่งเทียมอาวุธปืน
  • สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ
  • เครื่องมือวิทยุสื่อสาร

ในขณะที่ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับสินค้าต้องห้ามและต้องกำกัด แต่การพิจารณากฎระเบียบการนําเข้าของโอมานก็มีความสําคัญเท่าเทียมกัน:

สินค้าต้องห้ามนําเข้า/ส่งออกในโอมาน 

  • หนังสัตว์และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
  • รูปภาพ/ภาพวาดเปลือย
  • วัตถุทางการเมือง/ศาสนาที่ไม่เหมาะสม
  • หนังสือ/นิตยสาร/ภาพยนตร์ลามก
  • ดาบ/หอก
  • เครื่องมือวิทยุสื่อสาร

สินค้านําเข้า/ส่งออกที่ถูกกำกัดในโอมาน

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาวุธปืน อาวุธ และเครื่องกระสุนปืน
  • ยา
  • ยาเพิ่มสมรรถภาพ
  • ผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู

3. เอกสารการส่งออก

หลังจากที่คุณทําความคุ้นเคยกับรายการสิ่งของต้องห้ามและต้องกำกัดสําหรับประเทศไทยและโอมานแล้ว ให้ตรวจสอบ รวบรวม และส่งเอกสารสําคัญเหล่านี้ที่จําเป็นสําหรับการส่งออกสินค้าเพื่อการขนส่งไปยังตะวันออกกลางอย่างราบรื่น

  • ใบตราส่งสินค้าหรือใบรับส่งสินค้าทางอากาศ (Bill of landing or airway bill): สัญญาระหว่างเจ้าของสินค้าและผู้ขนส่งที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่จัดส่ง
  • ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า (Certificate of origin): ตรวจสอบประเทศที่ผลิตสินค้า
  • ใบกำกับสินค้าพาณิชย์ (Commercial invoice): รายการสินค้าจัดส่งซึ่งมีข้อมูลสําหรับใบศุลกากรและการกําหนดมูลค่าของการจัดส่งสําหรับการประเมินอากรและภาษี
  • ใบส่งสินค้าขาออก (Export declaration form): เอกสารบังคับสําหรับการส่งออกเพื่อแสดงมูลค่าสินค้าจริงทั้งหมดต่อหน่วยงานศุลกากรใช้สําหรับการควบคุมทางสถิติและศุลกากร
  • ใบอนุญาตส่งออก (Export licence): ใบอนุญาตที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อการส่งออกสินค้าบางประเภท
  • หมายเลขประจําตัวประชาชนและหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษี (Identification number and tax ID): ตัวระบุเฉพาะสําหรับนิติบุคคลส่งออกซึ่งจําเป็นสําหรับข้อมูลด้านภาษี
  • บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing list): รายละเอียดเนื้อหาของการจัดส่งแต่ละครั้งรวมถึงข้อมูลน้ำหนักและขนาด ศุลกากรใช้ข้อมูลนี้สําหรับการตรวจสอบและยืนยันพัสดุ

สํารวจโอกาสทางการค้าทั่วโลกกับบริการโลจิสติกส์ของ DHL Express

ดังที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น ตําแหน่งทางยุทธศาสตร์ของโอมานที่หันเข้าหาทะเลอาหรับและอยู่ตรงจุดตัดของเส้นทางการค้าที่สําคัญทําให้โอมานเป็นตลาดที่มีสีสันและมีศักยภาพอย่างมาก การใช้กลยุทธ์ขายสินค้าเดิมสู่ตลาดใหม่ (Expansion strategy) รวมถึงการเข้าสู่ตลาดโอมานเป็นก้าวสําคัญสู่การเจาะตลาดตะวันออกกลางในวงกว้าง

การใช้บริการกับบริการโลจิสติกส์ของ DHL Express Thailand ช่วยปลดล็อกโอกาสมากมายเหล่านี้โดยมอบช่องทางการค้าที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพในการขนส่ง ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากรของเราจะช่วยเหลือลูกค้าเรื่องเอกสารที่จําเป็นและตรวจสอบให้แน่ใจว่าการจัดส่งเป็นไปตามกฎระเบียบทั้งหมดเพื่อความรวดเร็วของกระบวนการส่งออก DHL Express Thailand ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความซับซ้อนของการขนส่งและการค้าข้ามพรมแดนได้อย่างมั่นใจ

ยกระดับธุรกิจของคุณสู่ระดับโลก ด้วยการเปิดบัญชีธุรกิจกับ DHL Express Thailand วันนี้