ด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่า 70 ล้านคน การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยอาจเป็นการลงทุนที่ทำกำไรสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตลาด อย่างไรก็ตาม การดำเนินตามกระบวนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากต้องทำความเข้าใจกฎระเบียบ ข้อกำหนดด้านเอกสารที่จำเป็น และขั้นตอนทางศุลกากรต่างๆ
ไม่ว่าคุณจะส่งอาหาร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คู่มือนี้จะให้คำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนสำคัญๆ สำหรับการนำเข้าสินค้ามายังประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเฉพาะรายผลิตภัณฑ์ และการได้รับใบอนุญาตที่จำเป็น
1. รู้จักประเภทสินค้าต้องห้าม และต้องกำกัด
ก่อนการนำเข้าสินค้าใดๆ มายังประเทศไทย คุณควรศึกษาก่อนว่าสินค้าประเภทใดสามารถนำเข้ามาในประเทศได้บ้าง
สินค้าต้องห้ามคือ สินค้าที่ประเทศใดประเทศหนึ่งสั่งห้ามไม่ให้นำเข้า หรือส่งออกจากประเทศอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามของประเทศไทยโดยอ้างอิงจากกรมศุลกากรของไทย ได้แก่:
- ยาเสพติด
- สื่อลามกอนาจาร
- สินค้าลอกเลียนแบบหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
- ธนบัตรหรือเหรียญปลอม
- สัตว์สงวนหรือสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองในบัญชี CITES
2. ขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตอย่างถูกต้อง
สินค้าบางอย่างสามารถนำเข้าได้แต่มีเงื่อนไข โดยผู้จัดส่งสามารถนำเข้าสินค้าต้องกำกัดเข้าสู่ประเทศได้ในกรณีที่ผ่านเกณฑ์บางประการเท่านั้น เช่น การได้มาซึ่งการอนุญาตหรือใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ที่จำเป็น การปฏิบัติตามกฎกำกับดูแลบางอย่าง หรือการปฏิบัติตามโควต้า
ต่อไปนี้คือสินค้าต้องกำกัดสำหรับนำเข้ามาในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการขออนุญาตนำเข้า
- พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ วัตถุโบราณ ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยกรมศิลปากร
- ปืน กระสุน วัตถุระเบิด และสิ่งของที่ทำหน้าที่เหมือนปืน ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- พืช และส่วนต่างๆ ของพืช ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยกรมวิชาการเกษตร
- สัตว์ที่ยังมีชีวิต และซากสัตว์ ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยกรมปศุสัตว์
- อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- ชิ้นส่วนยานพาหนะ ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
- บุหรี่ ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยกรมสรรพสามิต
- อุปกรณ์สื่อสารวิทยุ และอุปกรณ์โทรคมนาคม ออกใบอนุญาตนำเข้าโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เมื่อผู้จัดส่งได้รับใบอนุญาตแล้ว จะต้องกรอกแบบฟอร์มศุลกากร และยื่นเอกสารสำหรับการขนส่งทั่วไป เช่น:
- Invoice
- รายการพัสดุ (Packing list)
- ใบตราส่งสินค้าทางทะเล/ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Bill of lading/airway bill) และ
- ตราสารเครดิต (Letter of credit หรือ L/C)
3. ตรวจสอบว่าสินค้าทุกชิ้นติดฉลากอย่างถูกต้อง
ขั้นต่อไปคือ การตรวจสอบให้มั่นใจว่าคุณติดฉลากสินค้าทั้งหมดของคุณอย่างถูกต้อง ต่อไปนี้เป็นฉลากประเภทต่างๆ สำหรับการจัดส่งสินค้าแต่ละประเภท
ฉลากอาหาร
คุณตัดสินใจที่จะนำเข้าอาหารขายดีจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยใช่ไหม ตามกฎระเบียบของ อย. ของไทย สินค้าอาหารจะต้องติดฉลากภาษาไทยก่อนนำเข้า หรือทำการจัดจำหน่าย หากฝ่าฝืน สินค้าของคุณอาจจะถูก อย. ไทยยึดได้
ผู้นำเข้าอาหารเหล่านี้ต้องขออนุญาตใช้ฉลากที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า โดยการยื่นแบบฟอร์ม สบ. 3/1 พร้อมด้วยสูตรการผลิต วิธีการผลิต ผลการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาหารและการติดฉลาก ผ่านระบบส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของ อย. ไทย
เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว อย. ไทยจะออกเลขสารบบอาหาร (Food serial number) และการอนุญาตใช้ฉลาก ฉลากที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้าจะต้องใช้สำหรับอาหารบางอย่างที่มีการควบคุมโดยเฉพาะเท่านั้น
สำหรับอาหารประเภทอื่นๆ ผู้นำเข้าต้องเตรียมฉลากที่เป็นไปตามประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าประกอบไปด้วย:
- ชื่ออาหาร
- เลขสารบบอาหาร
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ หรือผู้นำเข้า
- ส่วนประกอบของอาหารโดยระบุเป็นมาตรวัดสำหรับแต่ละวัตถุดิบ
- เปอร์เซ็นต์ตามน้ำหนักของวัตถุดิบหลัก
- ข้อความเตือนสารก่อภูมิแพ้
- ชื่อประเภทตามหน้าที่ของวัตถุเจือปนในอาหาร พร้อมด้วยชื่อเฉพาะของเลขสารบบสากล
- ข้อความระบุสารแต่งกลิ่นรส
- การแสดงข้อความ “ควรบริโภคภายใน” หรือ “วันหมดอายุ”
- ข้อความเตือน (ถ้ามี)
- คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)
- คำแนะนำวิธีการปรุงอาหาร (ถ้ามี)
- คำแนะนำสำหรับการใช้ และข้อความสำคัญสำหรับอาหารของทารกหรือเด็กแรกเกิด
- ข้อความเพิ่มเติมตามที่ระบุในภาคผนวก
- ข้อความตามที่ระบุโดยประกาศเฉพาะ
นอกจากนี้ อย. ไทยยังกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารบางอย่างมีฉลากโภชนาการ และปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน (Guideline Daily Amounts - GDA) ด้วย
ฉลากแอลกอฮอล์
ฉลากสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องแสดงชื่อ และที่อยู่ของผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย เปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ และคำเตือนด้านสุขภาพเป็นภาษาไทย โดยใช้ข้อความที่รัฐบาลอนุญาตโดยเฉพาะ
ฉลากเครื่องสำอาง
ฉลากเครื่องสำอางยังต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบและข้อบังคับด้วยเช่นกัน ตัวแทนหรือผู้นำเข้าในประเทศสามารถให้การช่วยเหลือในการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ และรับรองว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องฉลาก
4. ชำระอากรและภาษี
เมื่อคุณตรวจสอบแน่ใจแล้วว่า สินค้านำเข้าของคุณติดฉลากอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับของไทย ขั้นตอนต่อไปคือการชำระอากร และภาษีที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเป็นผู้กำหนดมูลค่าศุลกากร อากร และอัตราภาษี จากนั้นคุณจะได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับวิธีการ และสถานที่รับสินค้า และชำระอากรและภาษีที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่ต้องการคัดค้านการประเมินราคาศุลกากร หรือขอยกเว้นอากรและภาษี ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ #1: กรอกและส่งแบบฟอร์มคำขอ
แบบฟอร์มคำขอสามารถรับได้ผ่านช่องทางออนไลน์อหรือที่สำนักงานไปรษณีย์ ให้ส่งแบบฟอร์มดังกล่าวพร้อมกับการแจ้งเตือนชำระภาษี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานการซื้อและใบเสร็จ ไปที่ที่ทำการไปรษณีย์ที่กำหนด
ในขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องจ่ายอากรอและภาษีใดๆ
ขั้นตอนที่ #2: เลือกจากตัวเลือกต่างๆ
คุณจะได้รับแจ้งจากส่วนบริการของศุลกากรที่มีหน้าที่ให้บริการทางไปรษณีย์
คุณสามารถเลือกที่จะ:
- รอรับแจ้งผลการพิจารณาจากไปรษณีย์ไทย และไปรับสินค้า ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ระบุ หรือ
- ติดต่อขอทราบผล และรับสินค้าที่ฝ่ายคัดกรองและตรวจสอบไปรษณียภัณฑ์ กองบริการศุลกากรไปรษณีย์ อาคารศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ซอยแจ้งวัฒนะ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร