ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกได้เห็นการเติบโตของอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศอย่างก้าวกระโดด โดยยอดค้าปลีกคาดว่าจะสูงถึง 8.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2026 ตามข้อมูลของ Statista การเพิ่มขึ้นของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนนี้ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความคาดหวังของผู้บริโภคโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
เนื่องจากการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในระดับสากล ภูมิทัศน์ของบริการขนส่งทั้งแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และแบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) จึงเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความคาดหวังเรื่องการขนส่งและการจัดส่งไมล์สุดท้ายที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โลจิสติกส์และการขนส่งไมล์สุดท้ายคืออะไร
แต่โลจิสติกส์ไมล์สุดท้ายและการขนส่งไมล์สุดท้ายคืออะไรกันแน่ ในด้านโลจิสติกส์ ความหมายของคำว่า 'ไมล์สุดท้าย' หมายถึงขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการจัดส่ง ซึ่งสินค้าจะถูกขนส่งจากศูนย์กระจายสินค้าหรือศูนย์ฟุลฟิลเมนต์ไปยังสถานที่ปลายทาง ซึ่งมักจะเป็นหน้าประตูบ้านของลูกค้านั่นเอง
ในขณะเดียวกันโลจิสติกส์ไมล์สุดท้าย คือการจัดส่งพัสดุโดยบริการขนส่ง รวมถึงการคัดแยก เรียงลําดับการวางแผนเส้นทาง และการจัดส่งโดยคนขับหรือเจ้าหน้าที่คูเรียร์
มาสํารวจ 5 เทรนด์หลักในการขนส่งไมล์สุดท้าย รวมถึงโลจิสติกส์ไมล์สุดท้ายที่ธุรกิจไทยต้องพิจารณา เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
1. ดีมานต์ในด้านความเร็วและความสะดวกสบาย
หนึ่งในเทรนด์ที่เด่นชัดที่สุดในการขนส่งไมล์สุดท้ายและโลจิสติกส์ คือความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นสําหรับตัวเลือกการจัดส่งที่รวดเร็วและสะดวกสบาย ผู้บริโภคในปัจจุบันคุ้นเคยกับการได้รับความพึงพอใจในทันทีและคาดหวังว่าคําสั่งซื้อของพวกเขาจะมาถึงอย่างรวดเร็ว บริการจัดส่งในวันเดียวกันและวันถัดไปได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ โดยธุรกิจที่สามารถมอบตัวเลือกดังกล่าวได้จะได้เปรียบในการแข่งขันขึ้นมาทันที
ธุรกิจไทยควรลงทุนในระบบโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ อาจทำได้โดยการไปเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการขนส่งที่เชื่อถือได้ หรือสร้างเครือข่ายยานพาหนะขนส่งสินค้าของตนเอง นอกจากนี้ การใช้ระบบการจัดการคําสั่งซื้อล่วงหน้าและเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางสามารถปรับปรุงการดําเนินงานระหว่างประเทศที่ซับซ้อนและลดเวลาในการจัดส่งให้เหลือน้อยที่สุด
2. ประสบการณ์การขนส่งที่ปรับตามความต้องการของแต่ละบุคคล
นอกเหนือจากความต้องการบริการจัดส่งในวันเดียวกันและวันถัดไปที่มากขึ้นแล้ว ผู้บริโภคยังแสวงหาประสบการณ์การจัดส่งที่ปรับตามความต้องการของตน เพื่อตอบสนองความต้องการและความชอบเฉพาะของพวกเขาเอง ความยืดหยุ่นในช่วงเวลาจัดส่ง หรือความสะดวกที่ลูกค้าสามารถเลือกการตั้งค่าการจัดส่งและตัวเลือกต่างๆ สําหรับการเปลี่ยนเส้นทางหรือกําหนดเวลาการจัดส่งใหม่จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้น
ธุรกิจไทยควรให้ความสําคัญกับการจัดหาตัวเลือกที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ตัวอย่างเช่น การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้งานง่ายช่วยให้ลูกค้าเลือกเวลาและสถานที่จัดส่งที่ต้องการ สามารถเสริมประสบการณ์การจัดส่งโดยรวมได้อย่างมาก ด้วยการให้ลูกค้าควบคุมการจัดส่งได้ด้วยตัวเอง ข้อดีคือธุรกิจจะสามารถเพิ่มความภักดีและความพึงพอใจของลูกค้าได้
3. การติดตามสถานะสินค้าและการสื่อสารที่โปร่งใส
ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ลูกค้ายังต้องการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของการจัดส่งแบบเรียลไทม์ การติดตามสถานะขนส่งข้ามพรมแดนที่โปร่งใสและการสื่อสารระหว่างประเทศเชิงรุกมีบทบาทสําคัญในการตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้
โซลูชันเทคโนโลยี เช่น แพลตฟอร์มการติดตามตามเวลาแบบเรียลไทม์ การแจ้งเตือนทาง SMS และแอพมือถือ ช่วยเพิ่มความโปร่งใสและแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับสถานะการจัดส่งระหว่างประเทศได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากระบบติดตามสถานะพัสดุของ DHL Express ได้ผ่าน MyDHL+ เครื่องมือการจัดการการขนส่งที่ให้ผู้ใช้ป้อนหมายเลขติดตาม (waybill) เพื่อค้นหาเวลาจัดส่งโดยประมาณและความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดังกล่าวเพื่อช่วยจัดการความคาดหวังของลูกค้าและสร้างความไว้วางใจในที่สุด
4. ความยั่งยืนและตัวเลือกการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเพิ่มขึ้น ความยั่งยืนจึงกลายเป็นปัจจัยสําคัญในการขนส่งไมล์สุดท้ายเช่นกัน ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากบริการขนส่งมากขึ้น และคาดหวังให้ธุรกิจต่างๆ นําแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้
ธุรกิจไทยควรมองหาตัวเลือกการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจสามารถลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขนส่ง หรือใช้รถจักรยานสำหรับการขนส่งในระยะทางที่สั้นกว่า หรือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่าง DHL Express เพื่อส่งเสริมการขนส่งไมล์สุดท้ายที่ยั่งยืน
DHL Express ให้คํามั่นสัญญาอย่างแน่วแน่ที่จะบรรลุการกําจัดก๊าซเรือนกระจกอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2050 โดยดําเนินโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น
- รถไฟขนส่งไฟฟ้า บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะมีรถขนส่งไฟฟ้าอย่างน้อย 60% ภายในปี 2030 สําหรับการขนส่งไมล์สุดท้าย
- เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบเก่า โดยเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนมากขึ้น
- GoGreen Plus ลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งทางอากาศโดยเปลี่ยนไปใช้ SAF
ความคิดริเริ่มเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังสะท้อนถึงความตั้งใจของลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย และช่วยหนุนภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ในระดับสากลให้ธุรกิจด้วย
5. เน็ตเวิร์คการขนส่งบนพื้นฐานความร่วมมือกัน
เทรนด์สุดท้ายเกี่ยวกับการขนส่งไมล์สุดท้ายและโลจิสติกส์คือการเพิ่มขึ้นของเน็ตเวิร์คการขนส่งที่ร่วมมือกัน และโมเดลการขนส่งแบบ crowd-shipping สำหรับทั้ง B2B และ B2C โมเดลเหล่านี้ทำให้ทรัพยากรที่ไม่ได้ถูกใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเปลี่ยนพื้นที่ว่างในยานพาหนะส่วนบุคคลมาเป็นพื้นที่สำหรับขนส่งพัสดุระหว่างการเดินทางประจําวันโดยความสมัครใจ เป็นต้น บริษัทไทยสามารถขยายขีดความสามารถนี้และเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งสําคัญคือต้องพิจารณาความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเหล่านี้ เช่น การรับรองความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของการส่งของ และก่อนที่จะเริ่มความร่วมมือกับเครือข่ายการขนส่งหรือแพลตฟอร์มการขนส่งแบบ crowd-shipping ให้ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าพันธมิตรที่เราเลือกนั้นมีศักยภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าบริการนั้นจะเชื่อถือได้และสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย มีการตรวจสอบประวัติ ชื่อเสียง และมีความสามารถในการดําเนินงานเพื่อลดความเสี่ยง
เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว บริษัทต่างๆ สามารถสร้างข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) ที่ชัดเจน ซึ่งสรุปความคาดหวัง ความรับผิดชอบ และการวัดผลในเชิงประสิทธิภาพ ข้อตกลงเหล่านี้ควรมีข้อกําหนดที่ชัดเจนทั้งด้านความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามระยะเวลาการส่งมอบที่ตกลงกันไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพ สม่ำเสมอและเป็นที่พึงพอใจ