ในยุคที่การค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์ China Plus One หรือที่เรียกว่า Plus One หรือ CHINA +1 ได้กลายเป็นแนวทางสําคัญสําหรับธุรกิจทั่วโลก รวมถึงภาคการผลิตของประเทศไทยที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย กลยุทธ์นี้มุ่งเป้าไปที่การกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศของจีน ซึ่งกลายเป็นจุดแข็งท่ามกลางความท้าทายจากโควิด-19 และความตึงเครียดทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น บทความนี้จะอธิบายถึงที่มาของกลยุทธ์ China Plus One และความสําคัญเชิงกลยุทธ์ โดยจะชี้ให้เห็นว่าแนวทางนี้ช่วยวางกรอบการทํางานสําหรับการบริหารความเสี่ยงให้กับธุรกิจไทย โดยผ่านการกระจายความเสี่ยงและการรักษาช่องทางการค้าใหม่ๆได้อย่างไร ด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบและระบุว่าภาคส่วนใดจะมีความได้เปรียบ จะทำให้ธุรกิจกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จาก CHINA +1 เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรมของธุรกิจไทยในช่วงที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้
ทําความเข้าใจผลกระทบของกลยุทธ์ CHINA +1
หัวใจสําคัญของกลยุทธ์ CHINA +1 เกี่ยวข้องกับการขยายการผลิตและการจัดหาสินค้าไปยังประเทศอื่นๆนอกเหนือจากประเทศจีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและลดการพึ่งพาตลาดเดียว แนวทางนี้เปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างมีนัยสําคัญ ด้วยการนำการจัดการความเสี่ยงและการกระจายความเสี่ยงที่สำคัญมาใช้สําหรับอุตสาหกรรมในภาคการผลิตของไทย การใช้ CHINA +1 ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จะทำให้มีการพึ่งพาซัพพลายเออร์จีนน้อยลง และเป็นจุดเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตลาดทางเลือก
การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าในระดับโลกเป็นอย่างมาก โดยธุรกิจต่างๆ ต้องกลับมาทบทวน และกระจายโมเดลธุรกิจของตน รวมทั้งกระตุ้นให้ธุรกิจไม่เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ส่งออกของจีนเท่านั้น แต่ยังต้องมองหาโอกาสในตลาดที่กำลังเติบโตอื่นๆ ด้วย การกระจายความเสี่ยงนี้ไม่ได้เป็นเพียงการป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการเดินหน้าแบบเชิงรุกเพื่อหาโอกาสในการเติบโตใหม่ๆ ในการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย
ใครได้ประโยชน์จากกลยุทธ์ CHINA +1
กลยุทธ์ CHINA +1 เผยให้เห็นข้อได้เปรียบที่สำคัญสำหรับภาคส่วนต่างๆ ในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย จากการกระจายห่วงโซ่อุปทานให้กว้างขึ้นแทนการพึ่งพาจีนเพียงประเทศเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอ และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์อย่างมาก อีกทั้งการรวมตัวกันของตลาดเกิดใหม่ เช่น อินเดียและเวียดนาม ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแรงงานที่มีต้นทุนต่ำและมีศักยภาพในการผลิตเฉพาะทาง ซึ่งช่วยเสริมจุดแข็งด้านการผลิตของไทยและลดการพึ่งพาผลิตภัณฑ์ "Made in China" ลง
ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมการผลิตส่วนประกอบไฮเทค อุปกรณ์พลังงานหมุนเวียน และบริการดิจิทัล ยังได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์ CHINA +1 นี้ จากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ส่งออกของจีน และใช้ประโยชน์จากตลาดทางเลือก กลยุทธ์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของจีนเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการเติบโตในที่อื่นๆ อีกด้วย ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตของจีนและข้อดีของตลาดอื่นๆ เช่น อินเดียและเวียดนาม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทไทยที่ต้องการห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งและหลากหลายมากขึ้น
CHINA +1 โอกาสกลยุทธ์สําหรับธุรกิจไทย
การนำยุทธศาสตร์ CHINA +1 มาใช้ช่วยสร้างโอกาสให้กับธุรกิจไทย โดยกลยุทธ์นี้ทำให้บริษัทของไทยสามารถขยายการเข้าถึงตลาด สร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน และสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้โดยการรวมศูนย์กลางการผลิตเพิ่มเติมเข้าในการดำเนินการของตน กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จคือการทำความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ผลกระทบด้านต้นทุน และความซับซ้อนด้านโลจิสติกส์จากการนำพันธมิตรรายใหม่ในห่วงโซ่อุปทานเข้ามารวมกับโครงสร้างของธุรกิจ
CHINA +1 จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตและบริษัทของไทยสามารถประเมินประเทศใหม่ๆหรือประเทศ Plus One ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน สิ่งที่ควรพิจารณา ได้แก่ :
- ความคุ้มค่าในการดําเนินงาน: การประเมินศักยภาพทางการเงินของการขยายการดําเนินงานไปยังประเทศใหม่ที่เลือก
- การเข้าถึงการขนส่งระหว่างประเทศ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รองรับการจัดส่งทั้งไปและกลับจากประเทศหรือตลาดใหม่นั้นอย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา
- ความแข็งแกร่งของระบบนิเวศการผลิต: เลือกตลาดหรือประเทศใหม่ที่มีระบบนิเวศการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยเสริมความสามารถทางอุตสาหกรรมและความต้องการของห่วงโซ่อุปทานของประเทศไทย
การประเมินเชิงกลยุทธ์นี้ครอบคลุมไปถึงการทําวิจัยตลาดโดยละเอียดเพื่อระบุภูมิภาคที่สอดคล้องกับความสามารถในการผลิตและโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานของประเทศไทย รวมทั้งกฎหมายและข้อบังคับ คุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพตลาดแรงงานของประเทศที่มีศักยภาพ เช่น เวียดนามและอินเดีย จำเป็นต้องมีการรตรวจสอบอย่างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์และคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ ธุรกิจของไทยจะสามารถรับมือกับโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากกลยุทธ์ CHINA +1 ได้อย่างเหมาะสม การนำกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงนี้มาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ให้กับธุรกิจของไทยเพื่อเติบโตในระดับนานาชาติได้อย่างยั่งยืน