#คําแนะนําเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ

ขั้นตอนในการตั้งค่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

4 นาทีอ่าน
facebook sharing button
twitter sharing button
linkedin sharing button
Smart Share Buttons Icon Share
ขั้นตอนในการตั้งค่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

การเพิ่มขึ้นของการใช้โทรศัพท์มือถือ และการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้ในประเทศไทยได้กระตุ้นความสําเร็จของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ด้วยระบบการชําระเงินที่สะดวก และบริการโลจิสติกส์ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้เสริมสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ เสริมสร้างอิทธิพลในชีวิตของผู้บริโภคชาวไทย จากข้อมูลของสํานักงานการค้าระหว่างประเทศระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซแบบ B2C ของไทยมีเสถียรภาพตั้งแต่ปี 2017 คิดเป็นมูลค่า 27.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของไทยคาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Rate - CAR) ที่ 7.7% ในปี 2023 

อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซระดับโลกเปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยเข้าถึงตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ประสบความสําเร็จในตลาดดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดสําหรับธุรกิจขนาดเล็กของคุณ และการเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการขนส่งที่เชื่อถือได้ อาจเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างระหว่างยอดขายปานกลางและการเติบโตแบบทวีคูณ    พิจารณาขั้นตอนเหล่านี้ก่อนที่คุณจะตั้งค่าแพลตฟอร์มการช้อปปิ้งออนไลน์ของคุณ

คํานึงถึงปัจจัยตลาดอีคอมเมิร์ซที่สําคัญ

ก่อนเลือกช่องทางอีคอมเมิร์ซสําหรับธุรกิจของคุณให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้:

1. ใช้งานง่าย

สิ่งสําคัญที่สุดประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม อินเทอร์เฟซที่ตรงไปตรงมาจะช่วยประหยัดเวลา ลดความยุ่งยาก และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

2. ต้นทุนแพลตฟอร์ม

ทุกช่องทางอีคอมเมิร์ซจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง สิ่งสําคัญคือต้องเปรียบเทียบราคา โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่นําเสนอ และค่าธรรมเนียมแอบแฝง

3. การสนับสนุนลูกค้า

การมีการสนับสนุนที่เชื่อถือได้ช่วยให้มั่นใจได้ว่า ปัญหาจะได้รับการจัดการทันที การมีผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ความช่วยเหลือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด จะเป็นประโยชน์สําหรับธุรกิจและลูกค้าของคุณเสมอ

4. ผสานกับระบบธุรกิจอื่น ๆ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มที่คุณเลือกผสานรวมกับระบบที่มีอยู่ของคุณได้อย่างราบรื่น สิ่งนี้ช่วยให้สามารถจัดการสินค้าคงคลัง และคําสั่งซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพกระบวนการจัดส่งอีคอมเมิร์ซที่ราบรื่น และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ

5. ความสามารถในการขยายขนาด

เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตขึ้น แพลตฟอร์มของคุณก็ควรขยายขึ้นเช่นกัน การเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่สามารถรองรับการเข้าชม และยอดขายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ทําให้เกิดอาการสะดุดเป็นสิ่งสําคัญ

ทําความเข้าใจข้อกําหนดเฉพาะของธุรกิจของคุณ

ประเมินความต้องการภายในธุรกิจของคุณ เช่น:

1. ขนาดสินค้าคงคลัง

ไม่ว่าคุณจะมีแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ 50 รายการหรือ 5,000 รายการ จะส่งผลต่อการเลือกของคุณ บางแพลตฟอร์มเหมาะสําหรับสินค้าคงคลังขนาดใหญ่ ในขณะที่บางแพลตฟอร์มได้รับการออกแบบมาสําหรับร้านค้าขนาดเล็ก

2. การเติบโตที่คาดการณ์ไว้

พิจารณาว่าคุณเห็นภาพธุรกิจของคุณในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า หากคุณมองเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็ว คุณจะต้องมีแพลตฟอร์มที่สามารถปรับขนาดได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีปัญหา

3. ช่องทางการชําระเงินที่ต้องการ

ไม่ใช่ทุกแพลตฟอร์มที่รองรับวิธีการชําระเงินทุกวิธี ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องทางการชําระเงินที่คุณต้องการ สามารถรองรับลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม

4. กลุ่มประชากรเป้าหมาย

หากกลุ่มเป้าหมายหลักของคุณเป็นคนในท้องถิ่น คุณอาจเลือกใช้แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ในทางกลับกันหากคุณกําหนดกลุ่มเป้าหมายจากทั่วโลก แพลตฟอร์มระหว่างประเทศที่มีการเข้าถึงที่กว้างขึ้นอาจเหมาะสมกว่า

ศึกษาคุณสมบัติของแพลตฟอร์มการช้อปปิ้งออนไลน์

เมื่อคุณเข้าใจความต้องการของคุณอย่างชัดเจนแล้ว ให้สํารวจคุณสมบัติที่เฉพาะของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างบางส่วน ได้แก่:

1. ประสบการณ์ของผู้ใช้

แพลตฟอร์มควรมีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายสําหรับผู้ประกอบการ และผู้บริโภค สิ่งนี้ทําให้การดําเนินธุรกิจราบรื่น และลูกค้ามีประสบการณ์การช้อปปิ้งที่น่าพึงพอใจ

2. ความสามารถในการทำ SEO

การปรากฏอยู่บนอันดับสูงสุดของผลการค้นหาของเครื่องมือค้นหาเป็นสิ่งสําคัญในยุคดิจิทัลในปัจจุบัน แพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือ SEO ที่ทันสมัยสามารถช่วยให้คุณได้เปรียบ

3. การปรับแต่ง

แบรนด์ของคุณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และร้านค้าออนไลน์ของคุณควรสะท้อนถึงสิ่งนั้น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่า ช่วยให้คุณปรับประสบการณ์ออนไลน์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแบรนด์ของคุณ

4. การปรับใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่

ด้วยการเติบโตของการช้อปปิ้งผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ การเลือกแพลตฟอร์มการช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีลักษณะ และการทํางานที่เหมาะกับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นสิ่งสําคัญ

เปรียบเทียบแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมในประเทศไทย

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมบางแพลตฟอร์มนําเสนอคุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดธุรกิจและผู้ซื้อออนไลน์ แต่ละแห่งมีจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์และตอบสนองผู้บริโภคและตลาดเป้าหมายที่แตกต่างกัน

พิจารณาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซห้าอันดับแรกเหล่านี้สําหรับการเริ่มต้น:

  • eBay: เป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซที่หลากหลาย โดดเด่นด้วยความสามารถในการขายรูปแบบการประมูล สภาพแวดล้อม "สงครามการเสนอราคา (bid wars)" ที่เป็นเอกลักษณ์สามารถเพิ่มราคาสินค้า เพิ่มอัตรากําไร และเสนอตัวเลือกการขายทั้งแบบราคาคงที่ และการประมูล เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม หากการประมูลไม่เข้ากับกลยุทธ์การขายของคุณ ให้ใช้ช่องทางการขายที่ไม่ใช่การประมูลของ eBay เพื่อเพิ่มผลกําไรตามที่คุณต้องการ
  • Amazon: เป็นที่รู้จักในด้านการเข้าถึงตลาดระดับโลก และโลจิสติกส์ที่ทันสมัย Amazon มีเครือข่ายศูนย์การปฏิบัติงานที่ไม่มีใครเทียบได้ ฟีเจอร์ Marketplace ไม่เพียงช่วยอํานวยความสะดวกในการซื้อและขาย แต่ยังช่วยให้ผู้ขายบุคคลที่สามได้ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าขนาดใหญ่ และความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ของ Amazon เป็นทางเลือกสำหรับธุรกิจขนาดเล็กสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
  • Alibaba: ยักษ์ใหญ่ในอีคอมเมิร์ซ B2B Alibaba เชื่อมโยงธุรกิจกับผู้ผลิตและผู้ค้าส่งทั่วโลก จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้อยู่ที่การซื้อสินค้าจํานวนมาก และการจัดหาสินค้าโดยตรงจากซัพพลายเออร์ ทําให้เป็นประตูสําคัญสําหรับผู้ประกอบการจํานวนมากที่เข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ
  • Etsy: เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสําหรับช่างฝีมือ และผู้ทำงานศิลปะ Etsy เป็นแพลตฟอร์มหลักสําหรับสินค้าแฮนด์เมด และวินเทจที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการให้ความสำคัญกับงานฝีมือส่วนบุคคล จึงเป็นตลาดเฉพาะสําหรับผู้ที่ต้องการขายหรือซื้อสินค้าที่ไม่ซ้ําแบบใครส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และความแตกต่างในโลกอีคอมเมิร์ซ
  • Shopify: เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสําหรับธุรกิจที่กําลังมองหาโซลูชันอีคอมเมิร์ซที่ครบวงจร และใช้งานง่าย Shopify มีร้านค้าออนไลน์ที่ปรับแต่งเองได้ พร้อมโซลูชันการชําระเงิน และชุดเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการ และขยายธุรกิจออนไลน์ได้อย่างราบรื่น

บทบาทของการขนส่งในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ

เมื่อตลาดดิจิทัลขยายตัว  อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจึงมีความต้องการใหม่ๆ ในภาคโลจิสติกส์ โดยต้องการความรวดเร็ว เชื่อถือได้ และคุ้มค่าสําหรับการขนส่ง สำหรับอีคอมเมิร์ซในระดับท้องถิ่น และระดับโลก ในทางกลับกันโลจิสติกส์ ยังช่วยเสริมประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้บริโภคตั้งแต่การคลิกปุ่ม 'ซื้อ' ไปจนถึงการส่งสินค้าที่หน้าประตูบ้าน

อีคอมเมิร์ซ ได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า สร้างโอกาสสําหรับระบบอัตโนมัติ การติดตามการจัดส่งที่ดีขึ้น และโซลูชันการจัดส่งที่เร็วขึ้น ในทางกลับกัน ความก้าวหน้าด้านโลจิสติกส์ทําให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถขยายพื้นที่การเข้าถึง เพิ่มฐานลูกค้า และเพิ่มรายได้

การทําความเข้าใจวิธีการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ สําหรับ SMEs และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ และบทบาทที่สําคัญของโลจิสติกส์ สามารถทําให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นในสภาพแวดล้อมที่แข่งขันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้านการขนส่งที่มีความซับซ้อนของอีคอมเมิร์ซระดับโลก หรือการเน้นการปรับปรุงโลจิสติกส์ของคุณ DHL Express ประเทศไทยก็พร้อมให้การสนับสนุนคุณ